การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการในระยะ 5 ปีข้างหน้า ได้ทบทวน ปรับปรุงกลไก
การบริหารงานของรัฐให้เกิดประสิทธิภาพ มีความรวดเร็ว ความทันสมัย สอดคล้องกับสังคมยุคใหม่ เพื่อ
ยกระดับระบบราชการให้มีความเข้มแข็ง สามารถสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการแข่งขันกับนานาประเทศ โดยเฉพาะในประเด้นการสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม โปร่งใส มีประสิทธิภาพสามารถตรวจสอบได้ และการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วม สร้างเสริมให้เกิดความเชื่อมั่นศรัทธาต่อระบบราชการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ต่อไป 

โดยในการจัดท าแผนยุทธศาสตร์ ได้น าเสนอความจ าเป็นที่ประเทศไทยจะต้องปรับตัวในการยกระดับ
ขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในด้านต่าง ๆ ให้สูงขึ้น เช่น ศักยภาพด้านเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพภาครัฐ ประสิทธิภาพภาคธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้รองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี รวมถึงการจัดตั้งประชาคมเศรฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) อีกด้วย 

นอกจากนี้รายงานยังน าเสนอข้อมูลด้านการพัฒนาเทคโนโลยีของภาครัฐที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่าหน่วยงาน
ภาครัฐจะได้มีการวางแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ และการเตรียมความพร้อมของการเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็ยังไม่มีผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม คงมีแต่การเสนอโครงการเพื่อขอจัดสรรเงินงบประมาณ และตัวชี้วัดผลการด าเนินงานที่เน้นเพียงแค่การมีวัสดุ อุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามที่ก าหนดไว้เท่านั้น ท าให้มีผลต่อการจัดอันดับเกี่ยวกับความพร้อมในการเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ 

เนื่องจาก ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือหรือกลไกที่ส าคัญ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถ
และศักยภาพในการด าเนินงานของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของภาครัฐ ซึ่งเป็นประเด็นที่มีผลโดยตรงต่อการสร้างแรงดึงดูดในการลงทุนจากต่างประเทศ ที่วัดจากระยะเวลาที่ภาครัฐให้บริการแก่ธุรกิจเอกชนในการอนุมัติ อนุญาตต่าง ๆ และความโปร่งใสในกระบวนการดำเนินงานของรัฐ 

ดังนั้น การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของภาครัฐ จึงควรเน้นที่ประสิทธิผล หรือการจัดการ
ความรู้ และการใช้ข้อมูลสารสนเทศ มากกว่าการจัดหาเทคโนโลยี ซึ่งความจ าเป็นที่ต้องให้ท าให้เกิดผล
สำเร็จอย่างเร่งด่วน คือการเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ในทุกระดับเข้าด้วยกันเพื่อลดความซ้ าซ้อนในการท างานและภาระในการลงทุน การจัดให้มีการใช้เครือข่ายข้อมูลที่มีมาตรฐานในการจัดการข้อมูลสารสนเทศระดับชาติ รวมถึงการติดตามตรวจสอบและประเมินผลอย่างเป็นระบบมากขึ้น 

ปัจจุบันรัฐบาลโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ก าลังเร่งผลักดันโครงการ 
Smart Thailand ซึ่งประกอบด้วย Smart Network เป็นการขยายโครงการใยแก้วน าแสง และพัฒนาอุปกรณ์ให้สามารถบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ให้ครอบคลุมกับการให้ประชาขน และ Smart Government เพื่อส่งเสริมบริการและธุรกรรมออนไลน์ของหน่วยงานภาครัฐ ในการให้บริการพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อลดความเหลื่อมล้ าต่อการเข้าถึงข้อมูลในด้านต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว ศูนย์สุขภาพ การเกษตร สาธารณสุข การพาณิชย์ การให้บริการฟรีอินเทอร์เน็ต รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดของภาครัฐที่สมบูรณ์แบบต่อไป

SIGDIC (Smart IT for Government Data Information Center) เป็นผลงานที่ผ่านการ
ศึกษาวิจัย และพัฒนามาจากการพัฒนากระบวนงานบริหารจัดการภาครัฐ (Government Business 
Process) ซึ่งมีความสอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานของภาครัฐ โดยได้น า
รูปแบบของกระบวนงานภาครัฐ ที่ได้ มาพัฒนาเป็นระบบการท างาน (Software Application) ส าหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ เพื่อใช้เป็นระบบบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Government Enterprise Resource Planning: GERP) สามารถรองรับการบริหารจัดการภาครัฐอย่างครบถ้วน ท าให้หน่วยงานภาครัฐมีระบบงานคอมพิวเตอร์ที่รองรับการท างานได้ครบทุกขั้นตอน (Complete Workflow) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการร่วมมือกับ บริษัท กสท.โทรคมนาคม จ ากัด (มหาชน) เพื่อน าระบบ SIGDIC ไปเปิดให้บริการบนเครือข่าย Internet ด้วยเทคโนโลยี Cloud Computing ให้กับหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อการส่งข้อมูลข้ามส่วนราชการ หรือระบบงานของหน่วยงานกลางต่างๆ เช่น ระบบ e-Budgeting ของส านักงบประมาณ ระบบ GFMIS ของกรมบัญชีกลาง ได้ต่อไป

 

1 Comment